สังคม ทุนนิยม กับความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจ

สังคม

ต้องบอกก่อนว่า สภาพการณ์ของ สังคม เราในปัจจุบันนั้น เรียกได้ว่าจัดอยู่ในระบบเศรษฐกิจในรูปแบบของ ทุนนิยม เสรีนิยมใหม่ จึงไม่แปลกใจเลยที่สังคมเราจะกลายเป็นสังคมทุนนิยม และสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยอีกประการหนึ่งคือ ประเทศไทยของเรานั้นมีความเหลื่อมล้ำของสิ่งที่เรียกกันว่า คนจน และคนรวย สูงมากเลยทีเดียว ซึ่งสาเหตุของปัญหานี้ที่เกิดขึ้นก็มาจากสังคมทุนนิยมนั้นเอง การรับรู้โดยทั่วไปของคนในสังคมนั้น จะทราบกันว่า ทุนนิยมนั้นจะเป็นรูปแบบเศรษฐกิจที่เน้นการเปิดตลาดในรูปแบบที่เสรี เพื่อทำให้ สังคมก้าวหน้าอย่างมาก แต่ความเป็นจริงระบบตลาดของโลกเรานั้นไม่ได้มีความเสรีเหมือนที่ได้กล่าวกันไว้เลย เพราะหลายๆ ที่ได้มีการผูกขาดกับกลุ่มนายทุนต่างๆ รวมไปถึงบริษัทที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถทำให้ผู้ลงทุนหรือบริษัทขนาดเล็กนั้นไปรอดได้ ซึ่งถึงมีโอกาสที่ได้เติบโตก็ยังน้อยกว่าหลายที่ใหญ่โตที่ได้มีการผูกขาดเอาไว้

สังคม

ต้องบอกก่อนว่าสำหรับระบบทุนนิยมนั้นมีมายาวนานมากกว่า 300 – 500 ปี แล้ว ในประเทศทางทวีปของยุโรป ซึ่งต้องบอกว่ายุคสมัยนั้น เป็นสังคมศักดินา ว่าด้วยผู้คนเจ้ายศศักดิ์และขุนนาง ซึ่งมีอำนาจเหนือกว่า ประชาชนคนทั่วไป ซึ่งจะมีทั้งชนชั้นแรงงานชนชั้นทาส และพ่อค้า ซึ่งพ่อค้าในสมัยนั้นก็ไม่ได้สูงไปกว่าชนชั้นสูงเพียงแต่มีเงินทองมากกว่าผู้คนทั่วไป พอเวลาผ่านไป อำนาจของผู้คนชั้นสูงนั้นด้อยลง แต่ในทางกลับกันพ่อค้าต่างก็มีอำนาจที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น และยังสามารถที่จะเข้ามาควบคุมสังคมได้มากขึ้นอีกด้วย ในก่อนหน้านั้นผู้คนธรรมดาชั้นแรงงานที่ไม่มีทรัพย์สินเนื่องจากถูกขูดรีดโดยผู้คนชั้นสูง ก็จำเป็นที่จะต้องขายแรงงานของตัวเองโดยการเข้าไปทำงานให้กับเหล่าพ่อค้า ทำงานตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน็อต และนั้นคือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกกันว่า สังคมทุนนิยม

สังคม

การเงินและการทำงาน เรียกได้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ทาง สังคม เพราะเงินนั้นเป็นตัวแปรสำคัญในการใช้ชีวิต ทุกคนล้วนต้องทำงาน ซึ่งก็จะตรงกับปัจจุบันของเราหากเปรียบเทียบกับในสมัยก่อน ถึงจะไม่มีการข้าทาส แบ่งขุนนาง หรือยศอีกต่อไป แต่ความเหลื่อมล้ำในสังคมก็ยังเกิดขึ้น ถ้าในบ้านเราให้ยกตัวอย่างให้เห้นภาพโดยง่ายก็คือค่าแรงที่ไม่เป็นธรรม กับค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งถึงแม้ในปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำจะมีการเพิ่มมาบ้างแล้ว แต่ในบางแห่งนั้นก็ใช้งานหนักเสียจนไม่คุ้มค่าแรงขั้นต่ำ หรือในบางที่นายจ้างหน้าเลือดก็ยังมีการให้ข้าแรงไม่ถึงข้าแรงขั้นต่ำอยู่ดี อย่างงี้จะไม่มีความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร หรือ ต่อให้คุณมีเงินเดือนที่เกินกว่าข้าแรงขั้นต่ำไปพอสมควร แต่ถึงแม้งานที่คุณนั้นได้มีการสร้างกำไรให้กับบริษัทค่อนข้างมาก แต่สุดท้ายกำไรเหล่านั้นล้วนที่จะตกไปอยู่ในมือของเจ้าของกิจการนั้นเอง

สังคม

ระบบทุนนิยมนั้นยังคงปัญหาความเหลื่อมล้ำและยังคงเป็นความท้าทายของการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมาโดยตลอดเลยก็ว่าได้ เพราะสามารถส่งผลกระทบออกเป็นวงกว้าง ทั้งต่อคนในสังคมและความยั่งยืนของระบบทุนนิยม ถึงแม้ว่าระบบทุนนิยมนั้นจะสามารถทำให้ระบบเศรษฐกิจนั้นเติบโตได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่คนส่วนใหญ่นั้นก็จะมีแค่พออยู่พอกินหรือไม่ก็ยากจน และยิ่งเศรษฐกิจเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนก็ยิ่งจะมีมากขึ้นตามไปเท่านั้น หมายถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำเองก็จะรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน กรณีของประเทศไทยเรานั้น ซึ่งระบบเศรษฐกิจยังคงทำงานอยู่ภายใต้ระบบของทุนนิยม ประเทศไทยของเราก็ยังคงมีปัญหาความเหลื่อมล้ำมาก เรียกได้ว่าในปัจจุบันนั้น เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เลยทีเดียว

วิธี แก้ปัญหานั้น ในการทำหน้าที่ของภาครัฐ จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มคนที่สามหรือนั้นก็คือ คือผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และใช้พลังงานของกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้มาเป็นตัวช่วยในการที่จะถ่วงดุล ซึ่งจะสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ให้เลวร้ายมากลงไปกว่านี้ เพราะกลุ่มผู้คนที่ได้มีการใช้แรงงานนั้นกำลังอ่อนแรงลงเป็นอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ค่าครองชีพที่สูงมากยิ่งขึ้น อัตราการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้นรวมไปถึงผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการมีงานทำในปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้กลุ่มผู้บริโภคในแง่ของจำนวนจะยิ่งมีการเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญในเรื่องของการติดต่อสื่อสารโดยอินเตอร์เน็ต หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ ต่าง ๆ นั้น ก็ยิ่งจะทำให้พลังที่มีของผู้บริโภคนั้นมีมากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีก เพราะง่ายต่อการที่จะรวมตัวกันได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะทำการประท้วงหรือทำการเรียกร้องในส่วนของประเด็นที่ทุกคนนั้นถูกกระทบจากปัญหาเหล่านี้หรือจากการที่ผู้คนเหล่านี้นั้นมีความรู้สึกร่วมกันกับปัญหาที่เกิดขึ้น