ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจในสังคมไทย

 วิเคราะห์ภาพรวมความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย

– ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นแต่เกิดจากการรับเงินโอนจากทางภาครัฐและคนในครัวเรือน ไม่ได้เกิดจากผลิตภาพของแรงงานที่มากขึ้น

– ความเหลื่อมล้ำในด้านของความมั่งคั่งสูงที่สุดเป็นอันดับต้นๆของโลกและยังคงเพิ่มขึ้นเร็วขึ้น

– ความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้จากตัวเลขทางการอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริงจากข้อจำกัดด้านข้อมูล

– ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยนั้นมีอัตราเติบโตลดลงเรื่อยๆกลับพบว่ารายได้การเติบโตนั้นพบได้เฉพาะในกลุ่มของคนรวย

เรื่องที่สามารถอธิบายความเหลื่อมล้ำในอดีตและรวมไปถึงความท้าทายในอนาคตของประเทศไทยได้นั้นมี 4 ประเด็นหลักด้วยกัน ดังนี้

  1. ประชากรในประเทศไทย 1 ใน 3 นั้น ทำงานในภาคของการเกษตร และพบเจอกับปัญหาสินค้าทางการเกษตรนั้นมีราคาที่ค่อนข้างตกต่ำ
  2. ประชาชนในประเทศไทยนั้นได้รับโอกาสต่างๆอย่างไม่เท่าเทียมกันตั้งแต่ ในด้านของการศึกษา ด้านของการทำงาน ด้านของการทำธุรกิจ ด้านของสวัสดิการพื้นฐาน ฯลฯ
  3. จากเหตุการณ์ที่เกิดโรคระบาดโควิด-19 นั้น จะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำนั้นยิ่งแย่ลง เพราะมีการเกิดผลกระทบกับกลุ่มคนที่เปราะบางและประชาชนรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำในหลายอาชีพ
  4. ปัญหาสังคมสูงวัยจะมีความท้าทายมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีหลายครัวเรือนด้วยกันที่มีสถานะทางการเงินที่ยังไม่พร้อม

สถาบันทางการเงินในปัจจุบันนั้นไม่เชื่อมโยงกับความรับผิด (Accountability) เป็นปัจจัยที่ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำนั้นไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลให้ประชาชนในประเทศไทยของเรานั้นมีอำนาจทางการเมืองที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน และทำให้นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งเหตุนี้เป็นการฉุดรั้งการเติบโตในระยะยาว

ปัญหาความเหลื่อมล้ำนั้นสามารถที่จะทำการแก้ไขได้และหัวใจหลักนั้นก็อยู่ที่การแก้ไขกลไกในระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำลงได้โดยสามารถที่จะแบ่งออกมา 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

  1. กลไกทางเศรษฐกิจนั้นจะต้องมีความเอื้ออำนวยต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม
  2. กลไกทางภาษีนั้นจะต้องมีการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง
  3. กลไกสวัสดิการของรัฐนั้น จะต้องมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น
  4. จะต้องกลไกในการบังคับใช้กฎหมายในด้านต่างๆที่เข้มแข็งและเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
  5. กลไกในการกระจายอำนาจทางการเมืองและการคลังนั้นจะต้องดีขึ้นกว่าเดิม

ความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยของเรานั้นรุนแรงอยู่ในระดับค่อนข้างสูงทั้งในด้านของมิติของรายได้ และความมั่งคั่ง

การเมืองไทยเองนั้นก็เป็นหนึ่งในปัญหารากลึกของความเหลื่อมล้ำ

การขาดกลไกที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำเป็นหนึ่งเหตุผลและหนึ่งในผลพวงที่เกิดจากสถาบันการเมืองที่มีลักษณะไม่เชื่อมโยงกับความรับผิดต่อส่วนรวม (Accountability)

ผลลัพธ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากระบบการเมืองที่ยังคงขาดประสิทธิภาพของไทย คือ

  1. เสรีภาพของสื่อ ซึ่งยังคงเป็นตัวสะท้อนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบการทำงานต่างๆของภาครัฐ ที่ไทยยังคงอยู่ในลำดับที่ 113 จากทั้งหมด 141 ประเทศด้วยกัน ซึ่งถือว่ายังคงต่ำมากๆเลยทีเดียว
  2. ด้านความปลอดภัยของประชาชนและการคอรัปชั่นได้คะแนนที่ค่อนข้างต่ำ
  3. การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ดีนัก
  4. กฎหมายที่ใช้ในการกับการแข่งขันนั้นไม่สามารถที่จะใช้งานได้อย่างเต็มที่

การที่จะเกิดพัฒนาการและการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น ไม่จำเป็นเลยที่จะต้องแลกมาด้วยความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่รัฐบาลนั้นคำนึงถึงประ ชาชนในทุกๆกลุ่มในการออกแบบนโยบายของทางภาครัฐนั้น รวมไปถึงการตั้งใจจริงในการที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคือจุดเริ่มต้นที่จะนำพาไปศุ่การแก้ปัญหาและเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาได้