บทวิเคราะห์ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศไทย ในปี 2562

ปัญหาเศรษฐกิจ
ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศไทย

เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยในปี 2562 ทำไมหลายคนถึงบอกว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงตกต่ำ หลังจากที่นักวิเคราะห์ได้ออกมาบอกว่าจีดีพีของเราโตขึ้น 4% ทำไมถึงยังมีความเสี่ยงอยู่ เรื่องนี้มันมีหลายปัจจัยด้วยกัน รวมเรื่องภายในประเทศ ในช่วงสิ้นปีนี้จะเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด มันอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจะร่วงหรือจะรุ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารของแต่ละประเทศเอง โดยวันนี้ที่เราออกมาวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยทั้งช่วงก่อน และหลังปี 2562

ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก

1.สงครามการค้าสหรัฐ-จีน

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างมาก จนขึ้นมาเป็นอันดับสองเป็นรองแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ทำให้ทางสหรัฐฯ ต้องหาวิธีมาขัดขาฝ่ายตรงข้าม เพราะไม่อย่างนั้นประเทศจะเสียผลประโยชน์มหาศาล คนที่ซวยไปด้วยก็คือคู่ค้าของประเทศจีน เมื่อโดนเล่นแบบนี้ ทำให้ทางจีนเองก็ออกมาตอบโต้เช่นกัน ทำให้เกิดเป็นสงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจที่สะเทือนเศรษฐกิจโลก

ด้วยเหตุนี้เองทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงเพราะถูกปิดกั้นตลาดเสรี หากสงครามยังยืดเยื้อต่อไปอีกเรื่อยๆ มีโอกาสสูงที่เศรษฐกิจโลกจะถึงจุดที่ตกต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา ประเทศไทยของเราเองก็ไม่มีข้อยกเว้น เพราะได้รับผลกระทบทั้งในด้านดี และไม่ดี เมื่อสองประเทศมองหน้ากันไม่ติด สินค้าอะไรที่เคยแลกเปลี่ยนกันก็ต้องหาจากแหล่งอื่นแทน ซึ่งไทยเองก็เป็นที่ได้ประโยชน์ในการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ-จีน แต่เมื่อดูจากระยะยาวแล้วคงจะมีข้อเสียมากกว่า

2.การเปลี่ยนนโยบายการเงินของเฟด

ในช่วงปี 2550 เป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐอเมริกานั้น กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจที่หนักหน่วง ทำให้เฟดออกนโยบายลดดอกเบี้ยติดต่อกัน 10 ปี เพื่อประคองประเทศเอาไว้ แม้ว่ามันจะได้ผลอย่างที่คาดเอาไว้ แต่มันก็ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ หากปล่อยเอาไว้แบบนี้อาจกลายเป็นปัญหาระดับโลกได้ ทำให้เฟดต้องทบทวนนโยบายใหม่อีกครั้ง ซึ่งเห็นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเข็มแข็งมากพอจะยืนด้วยตัวเองแล้ว จึงเปลี่ยนมาใช้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยแทน เป็นผลทำให้เกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามกันคือสภาพคล่องที่กำลังหดตัวลงเรื่อยๆ ซึ่งประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน

3.ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี

นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนมนุษย์และประเทศชาติ สองมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กับประเทศจีนต่างก็รู้ดี จึงได้มีการแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแต่ประเทศขนาดเล็กเองก็เริ่มมีการแข่งขันกันแล้ว แม้ว่าประเทศไทยจะเริ่มเข้าสู่ยุค 4.0 แต่ยังไม่มีผลงานที่เห็นเป็นตัวเป็นตน หากเป็นแบบนี้ต่อไปอาจไม่สามารถรักษาตำแหน่งในเกมการแข่งขันด้านเทคโนโลยีในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านได้ การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี ในส่วนของประเทศไทยที่ยังคงมีปัญหาในเรื่องนี้อยู่ คงไม่อาจที่จะตามโลกได้ทัน

โดยสรุปแล้วภาพรวมในปี 2562 นั้นค่อนข้างที่จะเป็นแง่ลบมากกว่า เพราะได้รับผลกระทบจากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด หรือสงครามการค้าที่กำลังบานปลาย หากเป็นเช่นนี้จริงจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตช้า เมื่อเทียบกับเมื่อปี 2561 แต่ไม่ว่าจะถดถอยลงมากหรือน้อย ก็ไม่สำคัญเท่าการเดินทางต่อในระยะยาว หากไทยยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันเพื่อนบ้านที่มีเทคโนโลยีใกล้เคียงกัน อาจเสียการลงทุนในตลาดโลกที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว