การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค หมายถึงอะไร และคุ้มครองอะไรบ้าง

สิทธิผู้บริโภค
การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

เมื่อคุณซื้อจักรยานใหม่ให้ลูกสาวเป็นของขวัญวันเกิด เมื่อพาเธอไปลองปั่นที่สวนสาธารณะ สามสัปดาห์ต่อมาคุณทั้งคู่สังเกตว่าล้อยางด้านหน้าคด คุณทำยังไงเพื่อจัดการกับปัญหานี้ ระหว่างซ่อมมันด้วยตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเวลเอาไปเปลี่ยนที่ร้าน กับนำมันไปคืนที่ร้าน (ถ้าอยู่ในเงื่อนไขการประกัน) หรือเมื่อคุณได้ไปเดินห้างแล้วซื้อเสื้อสเวตเตอร์ผ้าฝ้ายกลับมาด้วย แต่เมื่อเอาไปใส่กลับทำผื่นขึ้นเต็มตัวไปหมด แต่ดูจากฉลากที่คอเสื้อสังเกตเห็นว่ามันไม่ใช่ผ้าฝ้าย 100% ตามที่โฆษณาไว้

นี่คือตัวอย่างสถานการณ์ที่ผู้บริโภคอาจพบเจอในชีวิตประจำวัน ในบ้างครั้งร้านค้าก็อาจจะยอมรับผิดและยินดีชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้ามันไม่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องพึ่งพากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีไว้เพื่อปกป้องเราจากปัญหาประเภทนี้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมทุกคนถึงควรทำความคุ้นเคยกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อที่จะไม่โดนเอาเปรียบจากบริษัทเหล่านี้

เงื่อนไขการรับประกันของสินค้า

เมื่อใดก็ตามที่คุณซื้อสินค้าย่อมจะมีการรับประกัน โดยการรับประกันนี้จะช่วยยืนยันว่าของที่คุณซื้อไปจะสามารถนำไปใช้งานได้จริง ถ้าเกิดมันเสียหายหรือทำงานไม่ได้ ก็แค่นำมาคืนกับทางร้าน การรับประกันพื้นฐานคือ การรับประกันโดยสัญญาจากผู้ขายไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษร วาจา หรือแสดงออกในโฆษณา โดยสัญญาว่าสินค้าจะทำงานได้ดีตามระยะเวลาที่กำหนด

เมื่อใดก็ตามที่คุณซื้อของบางอย่างสิ่งสำคัญคือต้องได้รับการรับประกันเป็นลายลักษณ์อักษร ตรวจสอบดูเงื่อนไขการรับประกันให้ดี รวมถึงระยะเวลาในการรับประกัน ยกตัวอย่างประกันของโทรศัพท์มือถือ รับประกันตัวเครื่องเป็นเวลา 1 ปี เงื่อนไขจะสิ้นสุดทันทีเมื่อ ทำตกน้ำ ทำเครื่องตกแตก ทำการดัดแปลงเครื่องด้วยตนเอง ส่งซ่อมกับตัวแทนที่ไม่ใช้ของบริษัท ในกรณีนี้เราไม่สามารถเรียกร้องสิทธิได้เลย เพราะถือว่าเป็นความผิดของตัวผู้ใช้งานเอง

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค

สำหรับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยจะอ้างอิงตาม “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522” โดยผู้บริโภคนั้นจะได้รับประโยชน์จากความคุ้มครองตามกฎหมายดังนี้

1.ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะผ่านโฆษณา หรือฉลากที่แสดงบนตัวสินค้า โดยข้อมูลที่มีจะต้องครบถ้วน เพื่อให้ทราบว่าสินค้านี้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

2.ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะเลือกซื้อหรือใช้บริการได้ตามความสมัครใจ โดยปราศจากคำพูดชักจูงจากผู้อื่น

3.ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยจากสินค้าหรือบริการ  โดยสินค้าจะต้องมีคุณภาพกำหนดตามมาตฐาน มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

4.ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม โดยไม่ถูกเอาเปรียบจากบริษัทหรือร้านค้า

5.ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการชดเชยค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดข้อ 1 – 4

หน้าที่ของผู้บริโภคมีอะไรบ้าง

เมื่อเราเลือกซื้อสินค้าอะไรก็ตาม จำเป็นจะต้องตรวจสอบดูสภาพความเรียบร้อยก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็น สภาพความสมบูรณ์ของบรรจุภัณฑ์ ฉลากที่บอกส่วนผสม และราคาที่สมเหตุสมผล ไม่ควรที่จะเชื่อคำโฆษณาโดยไม่ได้ไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ ก่อนจ่ายเงินควรตรวจสอบความชัดเจนของเอกสารต่างๆ โดยเฉพาะใบรับประกัน ดูว่ามีเงื่อนไขไหนที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่

หลังจากที่ซื้อมาแล้วควรเก็บหลักฐานทุกอย่างเอาไว้ เช่น ใบรับประกัน ใบเสร็จรับเงิน (ถ่ายรูปเก็บไว้ป้องกันกระดาษเสียหาย) เพื่อใช้ในการเรียกร้องสิทธิการคุ้มครองของตนเอง หากไม่มีหลักฐานเลยจะเสียเวลาหรืออาจถึงขั้นเสียสิทธิไปเลย เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ตัวผู้บริโภคเองมีหน้าที่จะต้องดำเนินการเรียกร้องสิทธิของตัวเองกับสถาบันเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่

1.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ให้ความคุ้มครองประชาชน ส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค (สายด่วน 1166)

2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีหน้าที่ควบคุมสินค้าอาหารและยา เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ (สายด่วน 1556)

3.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รับผิดชอบในส่วนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรม (โทร 0-2202-3300)