การกําหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ วัดจากอะไร เป็นหลักมาดูกัน

กําหนดราคา
การกําหนดราคาในระบบเศรษฐกิจ

ทำไมของที่เราซื้อใช้อยู่ทุกวันนี้ ถึงมีราคาไม่เท่ากันในบางช่วง ยกตัวอย่างเช่น เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ ปลา ฯลฯ ที่ราคาขึ้นๆลงๆ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกลไกราคาของตลาดนั้น ถูกำหนดโดย อุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply) ของตลาด ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความต้องการของผู้ซื้อ ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออุปทานของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นราคาของผลิตภัณฑ์จะลดลง และความต้องการสินค้าอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนลดลง

ณ จุดหนึ่งความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มากเกินไปจะทำให้อุปทานลดลง เป็นผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์จะมีราคาแพงเกินไป ทำให้ความต้องการจะลดลง ซึ่งสุดท้ายแล้วราคาก็ต้องปรับตัวตาม อุปสงค์และอุปทานนั้น ควรอยู่ในระดับที่สมดุล ปริมาณของสินค้าที่จัดส่งจะเท่ากับปริมาณที่ต้องการ และจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายของคำว่าอุปสงค์

อุปสงค์ คือความต้องการของผู้บริโภคที่จะซื้อสินค้าในตลาดตามราคากำหนดเอาไว้ โดยความต้องการเองยังเป็นออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ความต้องการที่จะซื้อ ความเต็มใจที่จะจ่าย  กับความสามารถที่จะซื้อ ลองดูตัวอย่างของอุปสงค์จากด้านล่างนี้

1.เมื่อศิลปินชื่อดังเสียชีวิต ทำให้ไม่สามารถผลิตงานศิลปะชั้นเยี่ยมออกมาได้อีกต่อไป ความต้องการงานศิลปะของเขาเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากผู้คนต้องการซื้อผลงานที่ยังเหลืออยู่

2.สินค้าตามเทรนด์เป็นที่นิยมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่มันจะไม่กลายเป็นที่นิยมอีกต่อไป ความต้องการสินค้าลดลงอย่างมาก เพราะมันไม่ได้มีความจำเป็นในช่วงเวลานั้นอีกต่อไป

3.มีร้านอาหารใหม่เปิดขึ้นในใจกลางเมือง ซึ่งมีกระแสตอบรับดีมากเพราะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเต็มร้าน แต่ในร้านมีเพียง 12 โต๊ะ ทำให้ทุกคนตั้งทำการจองล่วงหน้า สิ่งนี้ทำให้เกิดอุปสงค์ขึ้น เพราะมีการจองที่เพิ่มขึ้น

ความหมายของคำว่าอุปทาน

ในทางเศรษฐศาสตร์ “อุปทาน” คือปริมาณของทรัพยากร บริษัท ผู้ผลิต ผู้ใช้แรงงาน ที่มีอยู่ในตลาด อุปทานยังอาจเป็นสกุลเงิน เวลา วัสดุ หรือวัตถุอื่นๆ ที่หายากหรือมีค่า สามารถดูตัวอย่างของอุปทานได้จากด้านล่างนี้

1.ผลผลิตข้าวโพดมีจำนวนมากตลอดทั้งปี ทำให้มีข้าวโพดมากเกินกว่ากว่าความต้องการ เพื่อกำจัดอุปทานส่วนเกินเหล่านี้ออกไป เกษตรกรจำเป็นต้องลดราคาข้าวโพดลง เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาซื้อกันมากขึ้น

2.เมื่อเข้าฤดูแล้งทำให้ผลผลิตสตรอเบอร์รี่ลดเหลือน้อยลงมาก ผู้คนจำนวนมากต้องการซื้อสตรอเบอร์รี่มากกว่าจำนวนที่พอขาย ทำให้ราคาสตรอเบอร์รี่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

3.ปัญหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาหางานทำในเมือง โดยพวกเขาเต็มใจที่จะทำงานด้วยค่าแรงต่ำ เนื่องจากมีคนงานมากกว่างานที่มีอยู่ อุปทานส่วนเกินนี้ทำให้ค่าแรงของคนงานลดลง

อุปสงค์และอุปทาน สร้างสมดุลให้ตลาดได้อย่างไร

กฎของอุปสงค์กล่าวคือ เมื่อความต้องการในตลาดลดลง สินค้ามีแนวโน้มที่จะขึ้นราคาเพราะผู้คนไม่ต้องการสินค้าเหล่านี้ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้นแสดงว่าความต้องการของตลาดลดลง ปริมาณสินค้าจะลดน้อยลงตามไปด้วย โดยปกติแล้วเมื่อนำสินค้าเข้าสู่ตลาด ปริมาณของอุปทานจะเป็นเส้นแนวตั้ง ในขณะที่ปริมาณของอุปสงค์จะเป็นเส้นโค้งลงเสมอ

ผู้ขายสามารถกำหนดราคาได้ โดยต้องไม่เกินที่ตลาดจะแบกรับไหวตามความต้องการของผู้บริโภค ณ เวลานั้น เมื่อเวลาผ่านไปซัพพลายเออร์สามารถที่จะเพิ่มหรือลดปริมาณสินค้าที่พวกเขาจัดหาให้กับตลาด เพื่อให้เป็นได้ราคาที่พวกเขาคาดหวังเอาไว้ ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปเส้นอุปทานจะสูงขึ้น ในขณะที่เส้นอุปทานที่ลาดเอียงขึ้นและเส้นอุปสงค์ที่ลาดเอียงลงนั้น เมื่อถึงเวลาที่จุดทั้งสองตัดกันในที่สุด ณ จุดนี้ราคาตลาดก็เพียงพอที่จะจูงใจให้ซัพพลายเออร์นำสินค้าเข้ามาในตลาดเพิ่ม เพราะผู้บริโภคยินดีจ่ายในราคานั้น